Share This Article
NRCT พลิกวงการเทคโนโลยี กรุยทางตลาดงานโลก จัดประชุมออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกในไทย
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (NRCT) จัดประชุมเชิงวิชาการทั้งในรูปแบบเชิงวิชาการและการอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกของประเทศไทย (The First Thailand Microelectronic Design Symposium and Workshop) ประชุมเชิงวิชาการทั้งในรูปแบบเชิงวิชาการและการอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกาศให้ทุกภาคส่วนทราบถึงการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาคนด้านการออกแบบ IC ของประเทศไทย ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงและเป็นบุคลากรที่เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก
ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดงานการประชุมในครั้งนี้ว่า การจัดประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ครั้งที่ 1 (The First Thailand Microelectronic Design Symposium and Workshop) ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนตามเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2566-2570) เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะระดับโลกนั้น ซึ่งการจัดการประชุมในครั้งนี้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายของรัฐบาลในการเปิดโอกาสให้ประเทศไทยเติบโตด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เนื่องจากวิศวกรทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์มีความต้องการอย่างมากในตลาดโลก โดยเฉพาะในด้าน IC Design (ไอซี ดีไซน์) ที่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้และความสามารถเฉพาะด้านขั้นสูง
การเติบโตที่รวดเร็วและต่อเนื่องของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หรือ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์นำไปสู่ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะขั้นสูงอย่างมากและเพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว งานสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในด้านการออกแบบ IC Design (ไอซี ดีไซน์) ในแง่มุมของ design flow ขั้นต้น เพื่อปรับปรุงข้อมูลด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัยและสร้างเครือข่ายการวิจัยให้มีโอกาสในการเพิ่มความร่วมมือและสร้างการรับรู้ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และการออกแบบวงจรรวม
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวต้อนรับการประชุมฯ ครั้งนี้ว่า “ทางสถาบันฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับโอกาสในการเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการประชุมฯครั้งนี้ การจัดประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งก้าวความสำเร็จของหน่วยงานวิจัยระดับชาติ สถาบันอุดมศึกษา ภาคอุตสาหกรรมด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายบริษัท ในการร่วมมือกันขับเคลื่อนการพัฒนาและการผลิตไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออุตสาหกรรมในประเทศไทยด้วยการพัฒนาทักษะของบุคคลากรด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์และ IC design ในแง่มุมของ design flow ขั้นต้นและพร้อมที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและสนับสนุนการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศ”
ขณะที่ นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 เปิดเผยว่า ภายในงานประชุมครั้งนี้ จัดขึ้น เป็นเวลา 3 วัน โดยในวันแรกจะเป็นการสัมมนาและบรรยายทางวิชาการในการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ไฮไลท์ของวันแรก จะมีการเสวนาเรื่อง The ole of supporting the government in accelerating IC design technology in the country from the perspective of each company และการศึกษาห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์และโอกาสทางธุรกิจ ด้านการออกแบบวงจรรวมของไทย
โดยในวันที่ 2 และวันที่ 3 จะเน้นในส่วนของการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ด้านการออกแบบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษาและผู้ที่สนใจเกิดการรับรู้และอัพเดทเทคโนโลยีด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังเป็นแนวโน้มในปัจจุบันและในอนาคต พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายวิจัยให้มีโอกาสเพิ่มความร่วมมือทั้งในระดับนักวิจัย หรือระดับนักวิจัยกับภาคเอกชน
ทั้งนี้ ประโยชน์ของการประชุมฯ ครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้นำเอาข้อมูลและความรู้เทคโนโลยีด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังเป็นแนวโน้มในปัจจุบันและในอนาคตและทักษะทางด้าน IC design ในแง่มุมของ design flow มาร่วมกันเผยแพร่เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย คณาจารย์ บุคลากรของภาคอุตสาหกรรมและที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน คือ ผู้เข้าร่วมการประชุมและอบรมฯ จากส่วนต่าง ๆ และสื่อมวลชนทุกสำนักล้วนมีบทบาทสำคัญในการร่วมสนับสนุนและผลักดันแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงการเพิ่มแรงงานที่มีทักษะและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ร่วมกันเกี่ยวกับ NRCT
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัยและมีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูเพิ่มได้ที่ www.nrct.go.th