Share This Article
Esri Thailand โชว์นวัตกรรมรับมือความท้าทายด้านภัยพิบัติ ปัญหาสภาพภูมิอากาศ และยกระดับสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในงาน Thai GIS User Conference 2024 (TUC 2024) ด้วย 2 โซลูชันเด็ด 1) GeoAI ผสาน AI ทำงานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) 2) Flood Simulation จำลองสถานการณ์น้ำท่วมจากสถิติข้อมูลน้ำฝนกับข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเตรียมทุกฝ่ายพร้อมรับมือเชิงรุกกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มุ่งมั่นสร้างการเติบโตร่วมกันบนเทคโนโลยี GIS เพื่อคุณภาพชีวิตดี ลดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “Uniting Our World โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน
ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธาน บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้เพื่อลดความเสี่ยงลงให้ได้มากที่สุด Esri Thailand ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี GIS และ Location Intelligence ในประเทศไทย จึงเล็งเห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการเป็นกุญแจสำคัญ ในการรับมือกับความท้าทายดังกล่าวที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ โดยเราได้ผลักดันเทคโนโลยี GISที่สามารถคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ให้พร้อมรับมือได้ทันท่วงที ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงทุกฝ่ายผ่านการเปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นการนำเสนอในรูปแบบที่ทุกคนเข้าใจได้ และมองเห็นภาพเดียวกัน เพื่อประยุกต์ให้ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ซึ่ง ‘การเชื่อมโยงความร่วมมือเข้าด้วยกัน’ เป็นหัวใจสำคัญ
ล่าสุด Esri Thailand ได้พัฒนานวัตกรรมโซลูชันด้านโลเคชั่นที่ตอบโจทย์การวิเคราะห์สถานการณ์ และวางแผนรับมือกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศหรือภัยพิบัติธรรมชาติ ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ รวมไปถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ภัยแล้ง พายุมรสุม อากาศร้อน หรือฝุ่น PM2.5 เป็นต้น ผ่านเครื่องมือหลากหลายรูปแบบ ร่วมจัดแสดงภายในงาน TUC 2024 ที่มีเป้าประสงค์จะเพิ่มโอกาสสร้างความร่วมมือของทุกฝ่าย ทุกองค์กร ทั้งเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ภายใต้ธีม ‘GIS – Uniting Our World’ โดยไฮไลท์เด่นจะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการเติบโตของสังคมในทุกมิติ ได้แก่
1. GIS: Empowers the Modern Grid: อัพเกรดโครงข่ายระบบ ไฟฟ้าให้เหนือกว่าด้วย GIS การนำเทคโนโลยี GIS มาบูรณาการเพื่อยกระดับโครงข่ายระบบไฟฟ้า ด้วยแบบจำลองโครงข่ายระบบไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ที่สามารถจำลองโครงข่ายระบบไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินในรูปแบบ 3 มิติ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลสถานะของหม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และอุณหภูมิได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังได้นำเสนอเทคโนโลยี GeoAI ที่สามารถจำแนกชนิดและลักษณะผิดปกติของอุปกรณ์ในโครงข่ายระบบไฟฟ้า ทำให้สามารถวางแผนและดำเนินการซ่อมบำรุงอุปกรณ์และโครงข่ายระบบไฟฟ้าได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง เป็นการเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่ายระบบไฟฟ้า ทำให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทั้งในเชิงรุกและเชิงรับได้อย่างรวดเร็ว นวัตกรรมนี้ไม่เพียงช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยโครงข่ายไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมั่นคงมากยิ่งขึ้น
แพร พันธุมวนิช รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) ระบุว่า “ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถนำ GeoAI มาช่วยในการวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial Data) เช่น ตำแหน่งของโครงข่ายระบบไฟฟ้า ร่วมกับมิติข้อมูลเชิงเวลา (Time Series Data) อาทิ ข้อมูลสภาพอากาศย้อนหลัง แนวโน้มความเร็วลม ปริมาณฝน ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้แม่นยำ โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถบูรณาการร่วมกันเพื่อประเมินผลกระทบต่อโครงข่ายระบบไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในช่วงฤดูมรสุม เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าพายุจะพัดเข้าทางใด ระดับน้ำที่อาจท่วมจะมีความสูงระดับใด พร้อมระบุจุดเสี่ยงที่อาจได้รับความเสียหาย และบ้านเรือนประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนเตรียมการล่วงหน้าได้ เช่น การจัดเตรียมทีมงานและพัสดุอุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง รวมถึงการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ช่วยลดความเสียหายพร้อมทั้งฟื้นฟูระบบไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเรามั่นใจว่าโซลูชันนี้จะยกระดับการทำงานให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้
2. GIS Enhances Understanding Changing Climate: จัดการความท้าทายด้านภูมิอากาศด้วย GIS โดยเปิดตัวฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Flood Simulation ในซอฟต์แวร์ ArcGIS เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับจำลองน้ำท่วมที่เกิดจากฝนตก เพื่อมารับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำทุกปี และทวีความรุนแรงมากขึ้นจากปัญหาโลกร้อน ฟีเจอร์นี้ช่วยให้สามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนเป็นมิลลิเมตรเพื่อจำลองสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างแม่นยำ ผ่านการวิเคราะห์แบบ What-if analysis ที่สามารถสร้างสถานการณ์สมมติหลากหลายรูปแบบ อาทิ ข้อมูลระยะเวลาฝนตก ปริมาณน้ำฝน ผนวกเข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อให้เห็นถึงผลลัพธ์ของสถานการณ์ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากภาวะโลกรวน ให้พร้อมสำหรับการวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ โดยจำลองออกมาในรูปแบบ 3 มิติ ที่เข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพรวมได้ชัดเจน
“ที่ผ่านมาเราได้นำสถิติการเกิดฝนตกเป็นข้อมูลตั้งต้น ซึ่งพบว่าเราสามารถจำลองสถานการณ์ได้หลายรูปแบบ ไปจนถึงการกำหนดปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกันในแต่ละชั่วโมงหรือนาที เพื่อเอามาวิเคราะห์ควบคู่กับข้อมูลเชิงแผนที่ เช่น ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แต่สิ่งที่เหนือชั้นไปอีกขั้นคือฟีเจอร์นี้สามารถจำลองเครื่องมือที่ช่วยระบายน้ำ หรือจำลองสร้างแนวกันน้ำที่จะช่วยเปลี่ยนทิศทางน้ำ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ของวิธีการจัดการน้ำท่วมได้อย่างรวดเร็ว ที่จะช่วยวางแผนพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนตกหนักในอนาคต ด้วยภาพแผนที่ที่ทุกคนเข้าใจร่วมกันได้” คุณแพร กล่าวเสริม
อย่างไรก็ดีงาน TUC 2024 นับเป็นงานเทคโนโลยี GIS ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด “GIS – Uniting Our World” เป็นงานที่อัปเดตเทรนด์นวัตกรรม GIS ใหม่ล่าสุด และเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์ต่าง ๆ อาทิ AI, Machine Learning และ Deep Learning, Digital Twins, Big Data ที่ผนวกอยู่ใน ArcGIS เพื่อช่วยยกระดับการทำงานเชิงพื้นที่ให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมด้วย Session เจาะลึกถึงการใช้เครื่องมือเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน และบูธสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ด้านภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งจาก Esri Thailand และพันธมิตรผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานจากทั่วประเทศ โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน
“ทุกนวัตกรรมในงาน TUC 2024 ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงถึงความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อบูรณาการการทำงานและเชื่อมโยงข้อมูลของทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในการรับมือกับความท้าทายด้านโลกรวน และภัยพิบัติ ผ่านโซลูชันใหม่ GeoAI และ Flood Simulation ที่มาผลิกโฉมวงการเทคโนโลยี GIS ให้ก้าวไปอีกขึ้น เพื่อขับเคลื่อนสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน จากนี้เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลายฝ่ายจะร่วมกันสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน และดึงเอาประสิทธิภาพสูงสุดของเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นตามแนวคิด Uniting Our World“ ดร.ธนพร สรุปปิดท้าย